ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบ และ หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วย
รับข้อมูลมีหลากหลายอุปกรณ์ ได้แก่

1) คีย์บอร์ด (Keyboard)

อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 
เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้น
อักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด 
ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 
7 หรือ 8 บิต (Operator)

2) เมาส์ (Mouse)


อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไป
ยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ เมาส์ที่นิยมใช้มีด้วยกัน 3 
ประเภท ได้แก่

-แบบทางกล (Mechanical) ใช้ลูกกลิ้งกลม

-แบบใช้แสง (Optical mouse)

-แบบไร้สาย (Wireless Mouse)

3) OCR (Optical Character Reader)

อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยใช้วิธีการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงใน
ลักษณะพาดขวางบนเอกสารที่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็น
สัญญาณไฟฟ้าเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์
โอซีอาร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 
เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode reader)

4) OMR (Optical Mark Reader)

อุปกรณ์นำเข้าที่ทำงานโดยการอ่านข้อมูลจากการทำเครื่อง
หมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ 
(Answer sheet)ซึ่งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ

5) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานสี่เหลี่ยม
มีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์คล้ายแว่นขยายที่มีเครื่องหมายกาก
บาทตรงกลาง พร้อมกับปุ่มสำหรับกด โดยปกติมักใช้ในการ
อ่านจุดพิกัดของแผนที่ หรือตำแหน่งของภาพกราฟิกต่างๆ

6) สแกนเนอร์ (Scanner)
เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย
สแกนเนอร์สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ

แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้
จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษให้ผ่านหัวสแกน
ซึ่งอยู่กับที่

แบบแท่นนอน (Flatbed scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกล
ไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะสำหรับใช้กับเอกสาร
ทั้งที่เป็นแผ่นเดียวและเอกสารที่เป็นเล่ม

แบบมือถือ (Hand-held Scanner) สแกนเนอร์แบบมือถือ
ได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน

7) ปากกาแสง (Light Pen)
เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์
เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานวาดภาพ

8) จอยสติก (Joy Sticks)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอ
คอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์
มีทั้งที่เป็นแบบแบน แบบคันโยก หรือ แบบพวงมาลัย

9) จอสัมผัส (Touch Screen)
เป็นจอภาพชนิดพิเศษที่ใช้ระบบสัมผัสแทนการใช้คีย์บอร์ด
และเมาส์ นิยมนำมาใช้กับงาน

10) เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ในร้านค้า
เครื่องเทอร์มินัลนี้จะมีแป้นพิมพ์สำหรับกรอกข้อมูล
มีจอภาพเล็กๆ เพื่อใช้แสดงผลต่างๆ และมีเครื่องพิมพ์
สำหรับพิมพ์รายการ ทั้งนี้สามารถนำเครื่องอ่านรหัส
บาร์โค๊ดเข้ามาช่วยในการรับข้อมูลได้ ซึ่งช่วยลดความ
ผิดพลาดอันอาจเกิดจากการกรอกข้อมูลที่มีจำนวนมาก

11) แผ่นสัมผัส (Touch Pads)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิ้วสัมผัสลงบนแผ่นสัมผัส
น้ำหนักที่กดสงไปจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า
มักเห็นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

12) กล้องดิจิทัล (Digital Camera)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถ
แปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล มีลักษณะการใช้งาน
เหมือนกล้องถ่ายภาพทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องใช้
ฟิล์มในการบันทึกข้อมูล ข้อมูลภาพที่ได้สามารถถ่าย
ลงสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกดูได้ทันที
หรือจะใช้โปรแกรมช่วยตกแต่งภาพให้ดูสวยงามขึ้นก็ได้

13) อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices)
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครโฟน
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียงโดยจะทำการแปลงสัญ
ญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์


หน่วยประมวลผลกลาง  (Central Processing 
Unit - CPU)

หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์
ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ใน
การประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้า
ข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน
หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์
เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์
หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข
และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมา
ว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้

2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่
ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประ
สานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล
และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้อง
ตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M
(Centrino) , Celeron , Duron , Athlon

หน่วยแสดงผล (Output Unit)

เป็นอุปกรณ์ส่งออก (Output device) ทำหน้าที่แสดง
ผลลัพธ์เมื่อซีพียูทำการประมวลผล

1) จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่เป็นภาพ
ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
     CRTจอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube)
 LCDและ จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display)
   

2) เครื่องพิมพ์ (Printer)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ในรูปของอักขระหรือ
รูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดอตเมตทริกซ์ (Dot Matrix Printer) เครื่องพิมพ์
แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer) เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์
(Laser Printer) และ พล็อตเตอร์ (Plotter)

3) ลำโพง (Speaker)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น